วันจันทร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2555

สิ่งเสพติด

       สิ่งเสพติด  คือ  ยาประเภทหนึ่งเมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้วจะทำให้ผู้ได้รับมีความต้องการมากขึ้นเรื่อย  โดยจะเข้าสู่ร่างกายโดยการ  กิน  สูบ  ฉีด  หรือดม  ผลของสิ่งเสพติดต่อการทำงานของระบบต่างๆ  ของร่างกายของผู้เสพจะเกิดโทษต่างๆ  เช่น
            1.  บุหรี่  ในบุหรี่มีสารนิโคติน  ซึ่งจะระเหยออกมาพร้อมกับควันบุหรี่  สารนิโคติน  จะเป็นอันตรายต่อหัวใจ  ระบบประสาท  อวัยวะที่เกี่ยวข้องกับทางเดินหายใจ  เป็นต้น
              2.  น้ำชา  กาแฟ  จะมีสารคาเฟอีน  ซึ่งมีฤทธิ์กระตุ้นประสาท  ทำให้รู้สึกสดชื่นหายง่วง
              3.  สุรา  เครื่องดื่มทุกชนิด  ที่ดื่มแล้วทำให้มันเมา  ในสุรามีแอลกอฮอล์ซึ่งเป็นอันตรายต่อร่างกาย  เมื่อแอลกอฮอล์เข้าไปในกระแสเลือด  เลือดก็จะนำไปยังส่วนต่างๆ  ของร่างกาย  ถ้าเราดื่มมากๆ  อาจจะทำให้เป็นโรคตับแข็ง  และยังเป็นอันตรายต่อกระเพาะอาหาร  ลำไส้  ปอด  เป็นต้น
            4.  ยาบ้า  หรือ  แอมเฟตามีน  มีฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาทและสมอง  ทำให้ตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา  เมื่อหมดฤทธิ์ยาจะทำให้มึนงง  นอนไม่หลับ  ตกใจง่าย  อ่อนล้า คลุ้มคลั่ง  ประสาท  หลอน  คลื่นไส้  อาเจียน  อาจถึงขั้นหลอดเลือดในสมองแตกและหัวใจวาย
              5.  สารระเหย  เป็นสารเคมีที่ระเหยง่าย  ในอุณหภูมิปกติจะพบในรูปของตัวทำละลาย  เช่น ทินเนอร์  น้ำยาล้างเล็บ  กาว  เป็นต้น  เมื่อร่างกายรับสารระเหยเข้าไปในระยะแรก  จะเกิดอาการตื่นเต้น  ร่าเริงต่อมาจะมีอาการมึนงง  ไม่สามารถควบคุมตัวเองได้  จะง่วงซึมและหมดสติในที่สุด
               6.  กัญชา  เป็นพืชล้มลุก  ในใบ  ดอก  ลำต้นกัญชาจะมีสารเสพติดที่เป็นน้ำมัน  เมื่อรับเข้าสู่ร่างกาย  จะทำให้กล้ามเนื้อสั่น  กระตุก  ปวดร้าว  สมองมึนงง  ความคิดสับสน  กระหายน้ำ  หวาดผวา  เป็นอันตรายต่อระบบประสาทและกล้ามเนื้อของร่างกาย
              7.  ฝิ่น  ได้จากเปลือกผลดิบมีลักษณะเป็นยาง  เรียกว่า  ฝิ่นดิบ  นำมาเคี่ยวให้สุกมีสีดำ  รสชาติขม  ฝิ่นมีฤทธิ์กดประสาท  ทำให้จิตใจเสื่อมโทรม
              8.  มอร์ฟีน  มีลักษณะเป็นผงสีขาว  หรือเหลืองอ่อน  ละลายน้ำง่ายไม่มีกลิ่น  เป็นสารสกัดที่ได้จากฝิ่น  แต่มีฤทธิ์รุนแรงกว่า  8  -  10  เท่ามีฤทธิ์กดประสาทและสมองทำให้ศูนย์ประสาทรับความรู้สึกชา  สามารถนำมาใช้วงการแพทย์ใช้สำหรับระงับความเจ็บปวดแก่ผู้ป่วย
            9.  เฮโรอีน  สกัดจากมอร์ฟีน  แต่มีฤทธิ์ร้ายแรงกว่า  10  เท่า  เป็นสิ่งเสพติดที่ติดได้ง่าย  เสพเพียง  1  -  2  ครั้งก็สามารถติดได้  เฮโรอีนสามารถแบ่งได้  2  ชนิด  คือ
                        -   เฮโรอีนบริสุทธิ์  หรือผงขาว  มีลักษณะเป็นผงสีขาวไม่มีกลิ่น  รสชาติขมจัด
                        -  เฮโรอีนไม่บริสุทธิ์  หรือเฮโรอีนผสม  หรือ  ไอระเหย  มีสีต่างๆ  เช่น  ชมพู  สีม่วง  มีลักษณะเป็นเกล็ด  เสพเข้าร่างกายโดยวิธีการสูบไอระเหย  เข้าไปตามระบบทางเดินลมหายใจ
              ผลเสีย  ของสารเสพติด  สามารถสรุปได้ดังนี้
              1.  ต่อตัวเอง  ร่างกายทรุดโทรม  ทำให้เกิดโรค  สมองเสื่อม  เสียบุคลิกภาพ
               2.  ต่อสังคมและประเทศชาติ  เพราะประเทศต้องเลี้ยงดู  รักษา  ผู้ที่ติดสารเสพติดเป็นจำนวนมาก  เป็นภาระต่อสังคม  ก่อให้เกิดปัญหาอาชญากรรม  ทำให้สูญเสียแรงงานของชาติ  สูญเสียงบประมาณของประเทศ
            3.  ต่อครอบครัว  ทำให้สิ้นเปลือง  ขาดความรับผิดชอบ  ทำให้เสียชื่อเสียง  เป็นภาระของผู้อื่น  บางรายหลังจากที่มีการเสพเข้าไปแล้ว  จะมีการทำร้ายบุคคลในครอบครัว  หรือบางรายไมมีเงินซื้อสิ่งเหล่านี้มาเสพจะเกิดการลักขโมย  ทำร้ายผู้อื่นเพื่อให้ได้มาซึ่งเงินที่จะนำไปซื้อยาเสพติด
            สาเหตุ  ของการติดสิ่งเสพติด
            1.  อยากลอง  อยากรู้  อยากสัมผัส
            2.  ถูกชักชวน  ถูกหลอกลวง  ความรู้เท่าไม่ถึงการณ์
            3.  สาเหตุมาจากครอบครัว  ขาดความรัก  ความอบอุ่นจากครอบครัว
            4.  จากสื่อต่างๆ  เช่น  โทรทัศน์   ภาพยนตร์ทำให้เด็กประพฤติตาม
            ลักษณะ  ของผู้ติดยา
            1.  สุขภาพทรุดโทรม  ผอม  ซูบซีด  เจ็บป่วยง่าย  ตาแดง  ตาโรย  น้ำมูลไหล  น้ำตาไหล
            2.  มีร่องรอยการเสพยาตามร่างกาย  นิ้วมือมีคราบเหลืองมีรอยการเสพยาด้วยเข็ม
            3.  ผิวหนังหยาบกร้าน  เป็นแผลพุพอง  เป็นหนอง  น้ำเหลืองคล้ายคนเป็นโรคผิวหนัง
            พฤติกรรม ของผู้ติดสิ่งเสพติด
            1.  ไม่สนใจสิ่งแวดล้อม  ชอบแยกตัวเอง
            2.  แต่งกายไม่เรียบร้อย  สกปรก
            3.  สีหน้าแสดงความวิตก  ซึมเศร้า  ไม่กล้าที่จะสู้หน้าคน
            4.  เมื่อขาดยา  มีอาการกระวนกระวาย  หายใจลึก  กล้ามเนื้อกระตุก  ทุรนทุราย คลุ้มคลั่ง
            การป้องกัน  การเสพยาเสพติด
            1.  เลือกคบเพื่อนที่ดี  หลีกเลี่ยงการคบเพื่อนที่ติดสิ่งเสพติด
            2.  ไม่ทดลอง  สิ่งเสพติดทุกชนิด
            3.  เล่นกีฬา  ออกกำลังกาย  หากิจกรรมนันทนาการเล่นเมื่อมีเวลาว่าง
            4.  สถาบันการศึกษาควรให้การอบรมเกี่ยวกับโทษของยาเสพติด
            5.  ควรมีความอบอุ่นแก่ครอบครัว  ดูแลสมาชิกในครอบครัว  อย่างใกล้ชิด
            6.  เมื่อมีปัญหาควรที่จะปรึกษาผู้ใหญ

สารในบุหรี่

สารในบุหรี่มีโทษ


๑.นิโคติน (Nicotine) เป็นสารแอลคาลอยด์(Alkaloid) มีลักษณะเป็นน้ำมัน ไม่มีสี นิโคตินมีในควันบุหรี่ประมาณ 95% จะเข้าไปจับอยู่ในปอด บางส่วนจับอยู่ในปอด บางส่วนจับอยู่ที่เยื่อหุ้มริมฝีปาก และบางส่วนถูกดูดซึมเข้ากระแสเลือด มีฤทธิ์กระตุ้นประสาทส่วนกลางและกระตุ้นต่อมหมวกไต ทำให้ความดันโลหิตสูง หัวใจเต้นเร็วหลอดเลือดรัดตัวนิโคตินเป็นสารสำคัญในบุหรี่ทำให้เสพติด ต้องสูบอยู่เรื่อยๆ แต่เลิกสูบยาก

๒. ทาร์ (Tar) เป็นน้ำมันเหนียวข้น สีน้ำตาล เมื่อสูบบุหรี่ทาร์ที่เข้าไปพร้อมกับควันบุหรี่จะจับอยู่ที่ปอด ทำให้ระคายเคือง มีอาการไอ ถุงลมในปอดขยาย และให้เป็นมะเร็งได้

๓. คาร์บอนมอนอกไซด์ (Carbonmonoxide) เป็นก๊าซจากควันบุหรี่ ที่ทำให้ร่างกายได้รับออกซิเจนน้อยลง รู้สึกอ่อนเพลีย หายใจ สั้น เหนื่อยง่าย อาจจะหน้ามืดเป็นลม และถ้ามีปริมาณคาร์บอนมอนนอกไซด์ในเลือดสูงถึง 60 % ก็อาจเสียชีวิตได้

๔. ไฮโดรเจนไซยาไนต์ (Hydrogencyanide) ก๊าซชนิดนี้จะเข้าไปทำลายเยื่อบุหลอดลมชนิดมีขน ทำให้สิ่งแปลกปลอมผ่านเข้าไปทำลายหลอดลม ก่อให้เกิดอาการไอมีเสมหะ และหลอดลมอักเสบเรื้อรัง

๕. ไนโตรเจนไดออกไซด์(Nitrogendioxide) เป็นก๊าชที่สามารถทำลายเยื่อหลอดลม ทำให้ถุงลมโป่งพอง

๖. แอมโมเนีย (Ammonia) เป็นสาเหตุที่ทำให้หลอดลมอักเสบ

๗. สารกัมมันตภาพรังสี ในควันบุหรี่มีรังสีแอลฟาอยู่ ซึ่งรังสีชนิดนี้ เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคมะเร็ง

๘. แร่ธาตุต่างๆ ซึ่งเป็นสารที่ตกค้างอยู่ในใบยาสูบจากการพ่นยาฆ่าแมลง เมื่อเข้าสู่ร่างกายก็ทำให้เกิดภาวะเป็นพิษได้

วันจันทร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2555

สาร อะดรีนาลีน


อะดรีนาลีน (Adrenaline) เป็น ฮอร์โมน สร้างขึ้นจากต่อมหมวกไตของสัตว์ อดรีนาลีนจะหลั่งออกมาขณะที่ โกรธ, ตกใจ, ตื่นเต้น อย่างรุนแรง เป็นวิวัฒนาการที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายเพื่อรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉิน ทำให้เพิ่มประสิทธิภาพทางร่างกายในระยะเวลาอันสั้น เลือดสามารถไปเลี้ยงกล้ามเนื้อส่วนต่างๆของร่างกายได้อย่างรวดเร็ว ออกซิเจนสามารถเข้าสู่ปอดได้อย่างรวดเร็ว

ถ้าเราเครียด สารตัวนี้จะหลั่งในสมองมาก กระตุ้นให้ร่างกายเกร็ง เร่งเครื่องตลอดเวลา ถ้าเครียดมากหรือเครียดเรื้อรัง ร่างกายจะแย่เพราะ หลอดเลือดฝอยในสมองหดตัวและความดันในสมองสูงขึ้น ชีพจรและความดันโลหิตเพิ่มขึ้น จนเกิดเส้นเลือดแตกทำให้เป็นอัมพฤกษ์ได้ง่าย